การคำนวณโหลดของระบบโซล่าเซลล์















เราจำเป็นต้องคำนวณหาโหลดทางไฟฟ้า (พลังงานไฟฟ้า) ของระบบโซล่าเซลล์ที่ต้องใช้ต่อวัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณหาขนาดความจุของแบตเตอรี่และขนาดของแผงโซล่าเซลล์ที่ต้องใช้ทั้งหมด ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นจะต้องทราบคือ

1. กำลังไฟฟ้า (Watt) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด โดยดูรายละเอียดได้ที่ name plate ที่ติดอยู่กับตัวเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ

2. จำนวนเครื่องไฟฟ้าแต่ละประเภทที่ใช้ทั้งหมด ซึ่งจะต้องนำมาคิดเป็นโหลดทางไฟฟ้าทั้งหมด ที่ต้องการจ่ายไฟด้วยระบบโซล่าเซลล์

3. จำนวนชั่วโมงการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดต่อวัน (hr/day) ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นนานแค่ไหนต่อวัน ยิ่งจำนวนชั่วโมงการใช้งานเครื่องไฟฟ้าต่อวันมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ขนาดของแบตเตอรี่และแผงโซล่าเซล์ใหญ่ขึ้นตามชั่วโมงการใช้งานมากขึ้นเท่านั้น ในการคำนวณจึงแนะนำให้ใช้จำนวนชั่วโมงการใช้งานเครื่องไฟฟ้าต่อวัน ใกล้เคียงกับปริมาณการใช้งานจริงให้มากที่สุด เพื่อเป็นการประหยัดและลดต้นทุนในการออกแบบระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์

จากตารางข้างล่างเป็นตัวอย่างการคำนวนโหลดที่ใช้พลังงานไฟฟ้าต่อวัน 655 Wh/day

รายการเครื่องใช้ไฟฟ้า
กำลังวัตต์ไฟฟ้า (Watt)
[a]
จำนวน
[b]
ชั่วโมงการใช้งานต่อวัน (hr/day)
[c]
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต่อวัน (Wh/day)
[a] x [b] x [c]
ทีวี
40
1
4
160
พัดลม
35
1
3
105
เตารีด
150
1
1
150
หลอดไฟ
15
2
8
240
รวม
240


655

เหตุผลที่ต้องนำจำนวนชั่วโมงที่ใช้โหลดต่อวันมาคิดคำนวณหาพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต่อวัน เพราะพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ต่อวันมีข้อจำกัด นั่นก็คือแผงโซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ไม่กี่ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น ในขณะที่ไม่มีแสงอาทิตย์ แบตเตอรี่จะทำหน้าที่เป็นแหล่งสำรองไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟให้กับโหลดแทนแผงโซล่าเซลล์

ดังนั้นในการหาขนาดของแผงโซล่าเซลล์และความจุของแบตเตอรรี่จึงไม่สามารถนำกำลังไฟฟ้าของโหลดเป็นวัตต์มาคำนวณได้โดยตรง เช่น จากตารางข้างบน กำลังไฟฟ้ารวมของโหลดเท่ากับ 240 Watt นั่นไม่ได้หมายความว่าขนาดของแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้จะต้องเท่ากับ 240 วัตต์ ดูรายละเอียด การคำนวณและการออกแบบระบบโซล่าเซลล์ เพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น