แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง

แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง

เราคงคุ้นเคยกับแผงโซล่าเซลล์แบบชนิด mono crystalline และ poly crystalline กันเสียส่วนใหญ่ แต่ยังมีอีกหนึ่งชนิดที่ผลิตและจำหน่ายกันในภายประเทศไทย นั่นก็คือโซล่าเซลล์แบบชนิดฟิมล์บางเป็นเทคโนโลยีการผลิตโดยการนำโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางหลายๆ เซลล์มาซ้อนกัน เพื่อทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าที่ดีขึ้น ซึ่งแต่ละชนิดของเซลล์ฟิล์มบางแยกประเภทตามชนิดของวัสดุดังนี้

  • Amorphous silicon (a-Si)
  • Cadmium telluride (CdTe)
  • Copper indium gallium selenide (CIS/CIGS)
  • Organic photovoltaic cells (OPC)
สำหรับการผลิตในประเทศไทยเราอาจจะคุ้นเคยกับ Amorphous Silicon มากกว่า
เทคโนโลยีในการผลิตในช่วงแรกๆ ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ค่อนข้างต่ำ จนทุกวันนี้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตที่ดีขึ้น จนทำให้ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์แบบชนิดฟิล์มบางได้ถึง 10-16% เทียบเท่ากับโซล่าเซลล์ชนิด poly-crystalline เลยทีเดียว แต่ประสิทธิภาพก็ยังต่ำกว่าโซล่าเซลล์แบบชนิด mono-crystalline ในขณะที่ตลาดก็โตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน นั่นอาจเป็นเพราะทำราคาได้ค่อนข้างดี

ข้อได้เปรียบ
  • กระบวนการผลิตค่อนข้างง่าย จึงทำให้ต้นทุนการผลิตถูกกว่าโซล่าเซลล์ชนิด mono & poly crystalline
  • ลักษณะโซลล่าเซลล์ที่เป็นเนื้อเดียวกันทำให้ดูน่าสนใจมากขึ้น
  • มีความยืดหยุ่นในการนำไปใช้งานต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น โซล่าเซลล์ในนาฬิกาข้อมือ
  • ผลจากอุณภูมิแวดล้อมทีสูงขึ้น และการบดบังแสงบางส่วนที่ตกกระทบลงบนโซล่าเซลล์ มีผลกระทบน้อยในการผลิตไฟฟ้าเมื่อเทียบกับโซล่าเซลล์ชนิดอื่น
ข้อเสียเปรียบ
  • โซล่าเซลล์แบบชนิดฟิล์มบางไม่ค่อยนำมาติดตั้งตามที่พักอาศัย เนื่องมาจากมันมีขนาดที่ใหญ่กว่าโซล่าเซลล์แบบชนิดอื่น เมื่อเทียบกับกำลังไฟฟ้าที่เท่ากัน
  • และในขณะเดียวกันพื้นที่ที่มากขึ้นก็ต้องใช้อุปกรณ์ในการติดตั้งเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องเสียค่าของและค่าติดตั้งเพิ่มขึ้นด้วย
  • อายุการใช้งานค่อนข้างสั้นกว่าโซล่าเซลล์ชนิดอื่น
อย่างไรก็ตามการเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ชนิดต่างๆ ไม่สามารถบอกได้ว่าโซล่าเซลล์ชนิดไหนดีกว่ากัน ต่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่หากขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ของการติดตั้ง อายุการใช้งาน และงบประมาณที่มีเป็นปัจจัยสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น